7 วิธีหาเงินจากเกมออนไลน์

ในยุคที่ สมาร์ทโฟน กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต พ่อแม่ก็มีความเป็นห่วงว่าลูกหลานตัวเองจะ “ติดเกม” เพราะเดี๋ยวนี้เด็กอนุบาลรู้จักโหลดเกมออนไลน์มาเล่นเองได้ เราจึงเห็นมาตรการคุมเข้มของบางครอบครัวที่ป้องกันไม่ให้ “ลูกติดเกม” ด้วยความเชื่อว่าเล่นเกมแล้วจะไม่สนใจการเรียน เล่นเกมแล้วจะทำให้สายตาสั้น สมาธิสั้น สิ่งเหล่านี้ก็เป็นเหตุผลที่ถูกต้องแต่ในความจริง “เกม” ก็คือการเล่นที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ได้ทางหนึ่ง เพียงแต่ต้องรู้จักแบ่งเวลาให้เป็น แต่อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าบางคนก็เกิดมามีความสามารถด้านการ “เล่นเกม” ซึ่งหากเป็นดังนั้นก็ควรจะหาวิธี “สร้างรายได้” จากการเล่นเกมไปซะเลยซึ่ง ทางเรามี 7 วิธีหาเงินจากการเล่นเกมออนไลน์มาฝาก แต่ขอบอกก่อนว่าเหมาะสำหรับคนที่คิดจะจริงจังกับเส้นทางนี้เท่านั้น

1.ติวเตอร์เกมออนไลน์

ก็คล้ายกับติวเตอร์ในวิชาทั่วไปเพียงแค่เปลี่ยนจากตำรามาเป็น “เกม” เรื่องนี้จริงจังถึงขนาดที่ต่างประเทศมีเว็บไซต์ หางานประเภท Freelance ที่ชื่อว่า Bidvine ที่เปิดให้เรารับงานอะไรก็ได้ผ่านเว็บก็ปรากฏว่ามีเปิดให้บริการในหัวข้อโค้ชของเกม Fortnite (เกมออนไลน์ประเภทหนึ่ง) แต่ใช่ว่าใครคิดจะมาสมัครก็ได้ อย่างเกม Fortnite เราจำเป็นต้องมีสถิติที่น่าเชื่อถือ (เช่นเล่นชนะ 25 เกมขึ้นไป) ถึงจะเริ่มลงทะเบียนบน Bidvine ได้ สำหรับจำนวนเงินที่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับว่าสถิติของเราว่าดีแค่ไหน แต่ราคาเริ่มต้นคือชั่วโมงละ 30 ปอนด์ (ประมาณ 1000 บาท) ซึ่งระบบในเว็บก็จะเป็นประมาณว่า ถ้ามีคนมาหาโค้ช เหล่าโค้ชในเว็บจะสามารถร่วมประมูลราคากันได้ ซึ่งก็แล้วแต่เราว่าจะเสนอเท่าไหร่ และลูกค้ารับข้อเสนอของเราหรือเปล่า การเข้าร่วม Bidvine นั้นทำได้ฟรี แต่เราจะต้องซื้อเครดิตที่เรียกว่า ‘bid credits’ เพื่อใช้ในการต่อรองกับลูกค้า สนนราคาเครดิตละ 1 ปอนด์ (ประมาณ 40 บาท) แต่การต่อรองกับลูกค้านั้นไม่ได้ใช้แค่เครดิตเดียว แต่จะใช้ 3-10 เครดิต ขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับ สำหรับมือใหม่ อาจจะต้องจ่ายถึง 10 เครดิตเลยเพื่อให้ได้งานแรก สำหรับใครที่กลัวว่าจะลงเงินไปแล้วเสียฟรี Bidvine คอนเฟิร์มเลยว่าการต่อรองครั้งแรกนั้น ถ้าเราไม่ได้งาน เราจะคืนเงินค่าเครดิตให้ แต่ถ้าบอกว่าไม่สนใจ Bidvine การเป็นติวเตอร์เกมก็ยังมีตัวเลือกอื่นเช่น Hearthstone ที่หากเราเล่นเก่งจริง ๆ ก็สามารถไปเป็นโค้ชให้ผู้เล่นอื่นได้ สนนราคาชั่วโมงละ 5-10 เหรียญ (ประมาณ 150-300 บาท) ซึ่งถึงแม้มันจะน้อย แต่ก็ไม่มีค่าหัวคิว สำหรับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ที่น่าสนใจก็มี GamerHours ที่ถ้าหากเราเก่ง DOTA 2 หรือ WoW ก็สามารถรับงานจากที่นี่ได้เช่นกัน

2.สตรีมเมอร์

การเป็นสตรีมเมอร์เป็นอะไรที่ฮิตมากในตอนนี้ เราแทบจะไม่ต้องมีต้นทุนอะไร มีแค่ฝีมือ ฝีปาก คอมดี ๆ ซักเครื่อง ก็สามารถเป็นสตรีมเมอร์ได้แล้ว หลายคนคิดว่าการทำงานแบบนี้จะได้เงินน้อยถึงน้อยมาก แต่ทราบไหมว่า Callum Willis อายุ 22 ปี เจ้าของแชนแนลยูทูป Seatin Man of Legends มีรายได้ราว 35,000 – 50,000 ปอนด์ต่อปี (ประมาณ 130,000 – 200,000 บาท) โดยช่องจะเน้นสร้าง Contents จากเกม Marvel Contest of Champions โดยจะลงพวกข้อมูลต่าง ๆ วิธีผ่านด่าน เทคนิคลับเฉพาะ ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจนช่องมีสมาชิกมากกว่าแสนคนในปัจจุบัน ซึ่งหันมาดูในเมืองไทยตอนนี้ก็มีแชลแนลสำหรับสตรีมเมอร์อยู่ไม่น้อย จะว่าไปก็คล้ายกับการเป็นติวเตอร์ให้กับคนเล่นเกมเพียงแต่นี่คือการสร้างช่องที่ทำให้มีคนติดตามและสิ่งที่จะได้คือโฆษณาที่จะเข้ามาถือเป็นอีกหนึ่งYoutuber ที่กำลังฮิตมากในตอนนี้

3.eSport

ประเทศไทยก็มีการสนับสนุน eSport ให้เป็นกีฬาประเภทหนึ่ง แต่คำว่า นักกีฬาก็ใช่ว่าจะเป็นกันได้ง่าย ๆแม้แต่ นักกีฬา eSport นอกจากพื้นฐานที่ต้องเล่นเกมนั้นได้เก่งและชำนาญ ก็ต้องฝึกฝนเรื่องวินัยและอื่นๆ อีกมาก แม้รายการแข่งขัน eSport เรียกว่าเงินรางวัลล่อตาล่อใจ อย่างเช่น DOTA 2 The International 2017 มีเงินรางวัลรวมกันอยู่ที่ 25 ล้านเหรียญ ผู้ชนะทั้ง 5 คนได้รางวัลไปทั้งหมดราว ๆ 11 ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่มากแต่กว่าจะไปถึงจุดนั้นได้ก็ต้องฝึกฝนและพยายามเพราะอย่าลืมว่าถ้าคิดว่าเราเก่งคนอื่นเขาก็เก่งไม่แพ้เราเช่นกัน แต่ถ้าหากเราไม่มั่นใจว่าจะไปถึงระดับนั้นได้ ขอแค่พยายามเล่นให้ดี ทำผลงานให้ยอดเยี่ยม เพื่อล่อสายตาเหล่า Sponsor ทั้งหลายที่พร้อมจะลงทุนกับเรา ยกตัวอย่างเช่น West Ham ทีมฟุตบอลชื่อดัง ที่มีนักกีฬา eSport เป็นของตัวเองนามว่า Jamboo และ Paris Saint Germain ก็มีทีม eSport เป็นของตนเองเช่นกัน

4.ขายไอเทมในเกม

เกมออนไลน์ เป็นเกมที่คนวัยเด็กจนถึงวัยผู้ใหญ่นิยมเล่นกันเป็นประจำอยู่แล้ว บางคนถึงขั้นเล่นข้ามวันข้ามคืน ไหนๆก็เล่นเกมกันแล้ว ก็ลองเลือกการสร้างรายได้ด้วยการเก็บไอเทมแรร์จากเกมแล้วประกาศขายซะเลย ซึ่งมีเกมส์ยอดฮิตมากมายที่พร้อมให้เราขายไอเทมแล้วจะมีคนสนใจซื้อแน่ๆ เช่น Counter-Strike: Global Offensive เกมยิงปืนในตำนานที่ตอนนี้มีมาในเวอร์ชั่นออนไลน์ผู้เล่นสามารถรบกันได้ทั่วโลก ไอเทมจากเกมนี้สามารถหาได้จากการเล่นเกมจบในแต่ละรอบ ซึ่งเมื่อได้ไอเทมแรร์แล้ว สามารถนำไปตั้งขายใน Steam ได้ ไอเทมบางอันสามารถทำเงินได้หลักหมื่นเลยทีเดียว หรือ อย่างเกม DotA 2 ไอเทมและของตัวละครฮีโร่ทุกอย่างนั้น ราคาสูงเป็นอย่างมาก รวมถึงเกมอย่าง Diablo ที่หลายคนอาจจะไม่ทราบว่าตัวเกม Diablo III นั้นมีอยู่ฟีเจอร์หนึ่งที่เรียกว่า “real-money auction house” หรือก็คือการซื้อ-ขายสิ่งของในเกมผ่านเงินจริง “แบบถูกกฎหมาย” ซึ่งจะมีเฉพาะบางเซิฟเวอร์เท่านั้นเช่นในโซนอเมริกาเป็นต้น

5.นักแปลเกม

อาชีพนอกจากเล่นเกมเก่งอาจจะต้องเก่งในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาที่สามอย่าง ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี, ภาษาญี่ปุ่น เพื่อทำการแปลข้อความและประโยคต่างๆภายในเกมออนไลน์ที่กำลังจะเปิดให้บริการ ทั้งนี้ จะต้องเชี่ยวชาญและแม่นยำในการแปล ที่สำคัญ ยังได้ผลตอบแทนในจำนวนที่สมน้ำสมเนื้อเช่นกัน ซึ่งจะมีอัตราค่าจ้างประมาณ 10,000 บาท ขึ้นไป และสามารถหาสมัครงานได้ตามบริษัทเกมออนไลน์ทั้งหลายที่อาจจะรับพนักงานประจำหรือทำเป็นพาร์ทไทน์ก็ได้

6.รับจ้างเก็บเลเวล

อาชีพนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาว่างเป็นที่สุด คอยช่วยเหลือผู้เล่นที่ไม่มีเวลาว่างในการเล่นเกม ให้มีตัวละครระดับเทพสูงสุดของเซิฟเวอร์ได้ งานนี้ถือว่าใช้เวลาทำที่ค่อนข้างนาน แต่ก็ได้ผลตอบแทนและผลพลอยได้ที่รับกลับคืนมาที่สูงเช่นกัน และการรับจ้างเก็บเวลก็ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ แต่หากลองพิมพ์เข้าไปในกูเกิ้ลจะพบว่า มีเพจเฟสบุ๊คจำนวนมากที่รับงานด้านการเก็บเวลนี้ เรียกว่าเป็นอีกธุรกิจของคนที่ชื่นชอบการเล่นเกม

7.Game Master

ผู้ที่มีใจรับการบริการและชื่นชอบเล่นเกม อาชีพ Game Master หรือ จีเอ็ม อาจเป็นที่ตรงใจแก่ผู้เล่น โดยผู้เล่นจะต้องประจำการอยู่ในบริษัทเกมออนไลน์ คอยตอบปัญหาแก่ผู้เล่นเกม ดูแลสังคมระหว่างผู้เล่น รวมถึงให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลเกมออนไลน์เพื่อปรับปรุงและพัฒนา แต่อย่าเข้าใจว่าการเป็นGM จะได้เล่นเกมอย่างเดียว หน้าที่ของ GM ไม่ต่างจากการเป็น customer service ที่อาจต้องใช้ความอดทนในการทำงานมากพอสมควรเช่นกัน และไม่ใช่แค่ระดับคนเล่นทั่วไปที่อยากหารายได้จาก “เกมออนไลน์” แม้แต่เจ้าของเกมเองก็ต้องดิ้นรนหารายได้เพิ่มให้ธุรกิจอย่าง Street Fighter ที่เป็นเกมระดับหัวแถวของ Capcom ผ่านการเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2530 ก็มีการเร่งสร้างยอดขายจากเกมนี้ให้ดีขึ้นเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หนึ่งในกลยุทธ์นั้นคือการใส่โฆษณาเข้าไปในเกม Street Fighter V แม้จะเป็นเกมที่ผู้เล่นต้องจ่ายเงินซื้อก็ตาม ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปลายปี 2561 ภายใต้การแสดงโฆษณาในฉากก่อนการต่อสู้, การให้ตัวละครสวมใส่เครื่องแต่งกายของแบรนด์สินค้า หรือมีโลโก้ติดอยู่ รวมถึงการแสดงโฆษณาในด่านต่อสู้ต่างๆ ด้วย